- รายละเอียด
- เขียนโดย Mr. Rittidesh Vongpunya
- หมวด: เทคโนโลยีสารสนเทศ
การทำรายงานจากข้อมูลดิบที่เรามีเป็นตาราง(เช่น Excel เป็นต้น) หากเรามีข้อมูลเยอะ การนำเสนอในรูปแบบตารางอาจจะดูไม่ง่ายต่อการวิเคราะห์และอาจทำให้ดูยากเนื่องจากข้อมูลมีจำนวนมาก แต่หากเราสามารถนำเสนอในรูปแบบรูปภาพ หรือที่เราเรียกว่า Data Visualization นั้น อาจทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ เข้าใจ หรือจดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น
เครื่องมือที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่
· Power BI (Microsoft)
แต่การที่จะได้มาของการทำ Data Visualization ต้องมีการเตรียมข้อมูล ซึ่ง การเตรียมข้อมูลที่ดี คือข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้ง่ายโดยข้อมูลที่เหมาะสมในการใช้งาน คือ ข้อมูลที่เป็น file excel, csv. หรือ json เป็นต้น
§ การหาและรวบรวมข้อมูล : Data acquisition
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุดเพราะหากไม่มีข้อมูลก็ไม่สามารถทำขั้นตอนอื่นๆ ได้
§ การเตรียมข้อมูล : Data preparation
§ การทำความสะอาดข้อมูล : Data cleaning
§ เปลี่ยนรูปแบบของข้อมูล : Data restructuring
เพื่อให้พร้อมต่อการใช้งาน
§ การทำ Visualization ซึ่งจะต้องเลือกว่าจะสร้างแบบ Visual mapping หรือ Visual rendering
ทั้งนี้ การทำ Data Visualization นั้นจะเหมาะกับงานที่ต้องมีการรายงานข้อมูลประจำปีเชิงตัวเลข เช่น งานนโยบายและแผน งานการเงินพัสดุ งานรับเข้า เป็นต้น
- รายละเอียด
- เขียนโดย Mr. Rittidesh Vongpunya
- หมวด: เทคโนโลยีสารสนเทศ
จุดเด่นของเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยี HP PageWide คือให้ความเร็วในการพิมพ์สูงมาก ระดับที่ Guinness World Record ยกให้ปริ้นเตอร์ HP ที่ใช้เทคโนโลยี PageWide พิมพ์ได้เร็วที่สุดในโลก ในกลุ่มเครื่องพิมพ์ราคาไม่เกิน $1,000 สามารถพิมพ์เอกสารสี 500 แผ่นในเวลา 7:18 นาที หรือใช้เวลาพิมพ์ต่อแผ่นไม่ถึงวินาที ซึ่งเราก็ได้ไปเห็นกับตาแล้วว่าเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ 75 แผ่นต่อนาทีได้ การทำงานของมันจะรวดเร็วขนาดไหน แถมจะพิมพ์สีหรือพิมพ์ขาวดำก็ยังพิมพ์เร็วเท่ากันด้วย
Video แสดงกระบวนการทำงานของ Technology Pagewide
ทำไมเทคโนโลยี HP PageWide ถึงพิมพ์งานได้เร็วขนาดนี้ HP อธิบายว่าเพราะ Print Bar หัวพิมพ์แบบพิเศษที่ติดตั้งฟิกซ์ตายตัวในเครื่อง ไม่ได้เป็นหัวพิมพ์ที่วิ่งซ้าย วิ่งขวาตามแนวกระดาษเหมือนเครื่องพิมพ์ทั่วไป ซึ่งแนวของหัวพิมพ์ที่กว้างเท่าหน้ากระดาษนี้ประกอบด้วยหัวพิมพ์เล็กๆ 42,240 หัว สามารถผลิตหยดหมึกพุ่งลงกระดาษอย่างแม่นยำได้มากกว่า 10 ล้านหยดต่อวินาที ซึ่งการที่มีแนวหัวพิมพ์กว้างเท่าหน้ากระดาษนี้เอง HP จึงตั้งชื่อเทคโนโลยีนี้ว่า HP PageWide
ถึงแม้ HP PageWide จะสร้างหมึกได้นับสิบล้านหยดต่อวินาที แต่ไม่ได้หมายความว่าเครื่องพิมพ์จะกินหมึกเยอะนะครับ หมึกขาว-ดำหนึ่งตลับสามารถพิมพ์ได้ 10,000 แผ่น ส่วนหมึกสีพิมพ์ได้ 7,000 แผ่น คิดเป็นต้นทุนสำหรับหน้าขาวดำแค่ 50 สตางค์ต่อแผ่น ส่วนหน้าสีก็ประมาณ 2.40 บาทต่อแผ่นเท่านั้น
Economical print costs for volume printing
เรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก็สิ่งหนึ่งที่ HP ชูให้เป็นจุดเด่นสำหรับปริ้นเตอร์ PageWide เลย ตั้งแต่กินไฟน้อยกว่าเครื่อง Laser Printer ทั่วไป จากการทดสอบจะเห็นว่าระหว่างทำงาน Laser Printer เครื่องย่อมๆ จะกินไฟมากกว่า 500 Watt ในขณะที่ HP PageWide กินไฟราว 50 Watt เท่านั้น นอกจากนี้ HP PageWide ยังมีค่าบำรุงรักษาเครื่องต่ำกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เพราะไม่ต้องเปลี่ยนลูกกลิ้ง เปลี่ยนสายพานทุก 300,000 แผ่น แต่เปลี่ยนแค่หมึกพิมพ์ ส่วนตัวเครื่องนั้นก็จะมีการรับประกัน และสามารถขยายระยะเวลารับประกันเป็น 5 ปีได้ด้วย
คุณสมบัติอื่นๆ ของเครื่องพิมพ์กลุ่ม PageWide
Storage Job ที่อาศัยฮาร์ดดิสก์ในเครื่องพิมพ์ หรือแฟลชไดร์เพื่อเก็บข้อมูลงานพิมพ์ไว้ก่อน รอจนเจ้าของงานมาที่หน้าเครื่องและป้อนรหัสผ่าน จึงจะได้รับงานพิมพ์
Touch-to-print ใช้ NFC เพื่อเชื่อมต่อการพิมพ์ไร้สาย และรองรับ Airprint ของ Apple ด้วย ใช้กับ iPhone, iPad โดยไม่ต้องลงแอปเพิ่ม
Dual Head Scan สามารถสแกนเอกสาร 2 หน้าได้พร้อมกัน (สำหรับเครื่องที่มี ADF หรือ Auto Document Feeder เท่านั้น)