- รายละเอียด
- เขียนโดย Piyanut Singkaew
- หมวด: วิจัย/โครงการ
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ประจำปีงบประมาณ 2559
ในวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 09.00 -16.00 น.
ณ ห้องประชุมดอกจาน 4
โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
1. ผศ.ดร.เสน่ห์ ทองรินทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ผศ.ดร.อภิศักดิ์ ภู่พิพัฒน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จำนวนคนเข้าร่วม 48 คน
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อบรมการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ประเด็นที่ 1 ปัญหาการหาหัวข้อวิจัย
ในภาคเช้า ผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งเป็นคณาจารย์ภายในคณะศิลปศาสตร์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “ปัญหาการหาหัวข้อวิจัย” ร่วมกับวิทยากรคือ ผศ.ดร.เสน่ห์ ทองรินทร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยวิทยากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากการทำวิจัย เรื่อง “การผสมผสานลักษณะความเป็นไทยกับการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ” (Integrating Thai Collectivist Conventions into EFL Writing Instruction) ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวเคยได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี พ.ศ.2555 ขณะที่ผู้เข้าร่วมอบรมได้ซักถามข้อสงสัยและร่วมอภิปรายปัญหาที่พบจากการเรียนการสอนภาษาต่างๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเขมร เป็นต้น ทำให้ได้แนวทางปฏิบัติที่ดีในการหาหัวข้อวิจัย คือ
1. หัวข้อวิจัยควรมาจากปัญหาที่ผู้วิจัยค้นพบจากวิชาที่ตนเปิดสอน และเป็นปัญหาที่พบบ่อยครั้งจนทำให้ผู้วิจัยเกิดการตั้งคำถาม และต้องการที่จะหาคำตอบ
2. ชื่อหัวข้อวิจัยจะต้องชัดเจน สามารถมองเห็นประเด็นสำคัญที่จะศึกษา ระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตามชัดเจน
3. หัวข้อวิจัยมีความสัมพันธ์กับแหล่งทุน
4. หัวข้อวิจัยจะต้องเป็นเรื่องที่ผู้วิจัยเชี่ยวชาญ เนื่องจากมีผลต่อการดำเนินการวิจัยให้งานวิจัยลุล่วงและมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต
ประเด็นที่ 2 ปัญหาที่พบในการทำวิจัย
ในภาคบ่าย ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร คือ ผศ.ดร.อภิศักดิ์ ภู่พิพัฒน์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเรื่อง “ปัญหาระหว่างทำวิจัย” วิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมได้บอกเล่าถึงประสบการณ์ในการทำวิจัย ปัญหาที่พบ และวิธีการแก้ไขปัญหา ทำให้ได้แนวทางปฏิบัติที่ดี เช่น
1. เพื่อให้การทำวิจัยมีประสิทธิภาพ นักวิจัยควรมีมิตราจารย์คอยให้คำปรึกษาอันเป็นประโยชน์
2. นักวิจัยควรคำนึงถึงหลักฐานเชิงประจักษ์มากกว่าทฤษฎีที่ใช้ เพราะในบางครั้งทฤษฎีตะวันตกที่นักวิจัยเลือกใช้อาจไม่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย และการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจริงที่มีอยู่จะทำให้เกิดทฤษฎีใหม่ ซึ่งถือเป็นนวลักษณ์ (Innovation) ที่จะทำให้เกิดพลวัต (Motivation) ตามมา
3. นักวิจัยที่ดีจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมในงานวิจัยเสมอ เพราะบางวิจัยบางเรื่องอาจต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคน
- รายละเอียด
- เขียนโดย Thitinun Poonikom
- หมวด: วิจัย/โครงการ
หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร
***************
คณะศิลปศาสตร์ ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยของคณะศิลปศาสตร์ อันเป็นนโยบายและภารกิจสำคัญของคณะ มุ่งสนับสนุนบุคลากรให้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เป็นการสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ จึงกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ดังนี้
1. บทความที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน
1.1 เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากงานวิจัยหรือบทความทางวิชาการ
1.2 เป็นบทความที่มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลตามที่กำหนดในข้อ 3
1.3 เป็นบทความใหม่ที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน และช่วงเวลาที่บทความปรากฏอยู่ในวารสาร
จะต้องไม่เกินปีงบประมาณที่ขอเบิก เช่น เบิกจ่ายปีงบประมาณ 2559 วารสารจะต้องตีพิมพ์
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2559
1.4 ในบทความจะต้องระบุชื่อผู้เขียนและหน่วยงานที่สังกัด คือ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ต้องเป็นอาจารย์สังกัดคณะศิลปศาสตร์
3. อัตราค่าตอบแทน
3.1 กรณีที่เป็นผู้เขียนที่ปรากฏเป็นชื่อแรกของบทความที่ตีพิมพ์
3.1.1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล
Thai-Journal Citation index Centre (TCI) หรือบัญชีรายชื่อวารสารระดับชาติของสำนักงาน
คณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการของสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และ ประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ให้ได้รับค่าตอบแทน จำนวน 5,000 บาท
3.2 กรณีที่เป็นผู้ร่วมเขียนบทความที่ตีพิมพ์
3.2.1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank
www.scimagojr.com) หรือฐานข้อมูล ISI Web of Science (Science Citation index Expand, Social Sciences Citation Index , Art and Humanities Citation Index ) หรือฐานข้อมูล Scopus ให้ได้รับค่าตอบแทน จำนวน 3,000 บาท
3.2.2 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Thai- Journal Citation index Center (TCI) หรือบัญชีรายชื่อวารสารระดับชาติของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ให้ได้รับค่าตอบแทน จำนวน 1,000 บาท
3.2.3 กรณีที่เป็นบทความที่มาจากการศึกษาอิสระหรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาเป็นผู้เขียนที่ปรากฏเป็นชื่อแรกของบทความที่ตีพิมพ์ และอาจารย์เป็นผู้ร่วมเขียนบทความที่ตีพิมพ์ อาจารย์จะได้รับค่าตอบแทนครึ่งหนึ่งของค่าตอบแทน ในข้อ 3.2.1 และ 3.2.2
4. ขั้นตอนการขอรับค่าตอบแทนและเงื่อนไขอื่นๆ
4.1 อาจารย์สามารถยื่นเรื่องขอรับค่าตอบแทนได้ตลอดปีงบประมาณ โดยทำบันทึก
ข้อความมายังเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เพื่อเสนอผ่านหัวหน้าสาขาวิชา และรองคณบดีที่
รับผิดชอบงานวิจัย จนถึงคณบดีคณะศิลปะศาสตร์ พร้อมหลักฐานดังนี้
4.1.1 วารสารที่มีการตีพิมพ์บทความ จำนวน 1 เล่ม หรือสำเนาบทความที่ตีพิมพ์แล้ว จำนวน 1 ชุด
4.1.2 รายละเอียดวารสาร ประกอบด้วย หน้าปกวารสาร สารบัญ และรายชื่อ
กองบรรณาธิการ
4.1.3 บันทึกข้อความเพื่อขอรับค่าตอบแทนบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ คณะ
ศิลปศาสตร์
4.2 อาจารย์มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ไม่เกิน 4 บทความต่อปี ทั้งนี้ ในบทความเดียวกันหากผู้เขียนที่เป็นชื่อแรกของบทความและผู้ร่วมเขียนบทความที่ตีพิมพ์เป็นอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ สามารถยื่นเรื่องขอรับค่าตอบแทนได้เพียงหนึ่งคนเท่านั้น