- รายละเอียด
- เขียนโดย Sirichai Phibalwong
- หมวด: สื่อโสตทัศนศึกษา
การบูรณาการสื่อเสียง(Sound Integrated) ได้กล่าวถึงการนำสื่อไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนดังนี้
1. การรับรู้ (ตาและหู จะใช้ถึง ร้อยละ 88) /สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือสิ่งต่างๆที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางในการถ่ายทอดความรู้ของผู้สอนถึงผู้เรียน
2. สื่อประสม (คือการนำสื่อตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์เป็นระบบ) /มัลติมีเดีย (คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้ความหมายของสื่อประสมเดิมเปลี่ยนไป เนื่องจากความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่แสดงผลได้สมจริง)
3. ประเภทของเสียง (เสียงพูดคุยสนทนา หรือเสียงบรรยาย/พากย์,เสียงดนตรี,เสียงปรุงแต่งพิเศษ,เสียงธรรมชาติ/สัตว์/บรรยากาศทั่วไป)
4. การบูรณาการสื่อเสียง(การผลิตสื่อเสียงที่ต้องใช้อุปกรณ์กำเนิดเสียงร่วมกับสื่อผสมแล้วถ่ายทอดสู่ผู้ฟังอย่างเป็นระบบ)
ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม ได้ทราบถึงประโยชน์ของการผลิตสื่อเสียงประกอบการเรียนการสอน
1. ทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น 2. เป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น
3. เกิดความน่าสนใจ 4. ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้และเทคนิคการสอนอย่างเหมาะสม
5. ลดระยะเวลาการสอน 6. ใช้ปรับปรุงคุณภาพของการเรียนรู้
7. ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ 8. สร้างทัศนคติที่ดีต่อเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอน
9. เปลี่ยนแปลงบทบาทผู้สอนให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น 10. ลดข้อจำกัดด้านขนาดพื้นที่หรือระยะทาง
- รายละเอียด
- เขียนโดย Sirichai Phibalwong
- หมวด: สื่อโสตทัศนศึกษา
หัวข้อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียน ได้กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยยกระดับการศึกษาและคุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทย พร้อมกับลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างเด็กนักเรียนในเมืองและชนบท ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียน เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และได้รับการยกย่องว่าเป็นโครงการตัวอย่าง (Best Practice) ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษาหาความรู้
ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม ได้ทราบถึงการจัดการระบบสารสนเทศที่มีในประเทศไทย โดย
1. ได้เห็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นเครือข่ายสารสนเทศของไทย เพื่อเป็นทางด่วนสารสนเทศความเร็วสูงเพื่อการศึกษา/ วิจัยของภาครัฐที่เพียงพอ
2. ได้รู้ถึงการเป็นศูนย์กลางการศึกษา/วิจัย เรื่องทางด่วนสารสนเทศของประเทศไทย โดยการนำทางด่วนสารสนเทศที่เคยอยู่ในขั้นทดลองมาใช้งานจริงในด้านการศึกษา/การพัฒนา บุคลากร ของชาติ
3. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปเป็นแนวทาง/ต่อยอดความรู้ในอนาคตได้